Friday, July 20, 2012

วัฒนธรรมท้องถิ่นใต้แดนสยาม

           ตอนที่ 1 วัฒนธรรมท้องถิ่นใต้แดนสยาม
การชนวัว มันเป็นสิ่งที่แยกยากระหว่างวัฒนธรรม กีฬา การพนัน ดังนั้นผมจะไม่วิเคราะห๋ตรงนี้ แต่จะเอาเบื้องหลังมานำเสนอครับ
การละเล่นนี้เล่นอยู่ในวงจำกัด บางท้องที่ ในสังคมเกษตรที่ทำนา ในการไถมักจะใช้วัวพื้นเมืองเป็นแรงงานหลัก แต่คนเลี้ยงก็พบว่าวัวตัวผู้ที่อยู่ในฝูงมีมากกว่า 1 ตัว พอมันเข้าวัยเจริญพันธุ์มันจะชนกัน ต่อสู้เพื่อเป้นจ่าฝูงการต่อสู้ดุเดือด คนเลี้ยงจึงเห็นจุดนี้ เลยเอามาชนกันเพื่อความสนุกสนาน
เมื่อมีคนมาดูมากมากๆ ความเห็นไม่ตรงกันการพนันเลยเกิดขึ้น จากนั้นมีการพัฒนาการเลี้ยงและมีการชนกันอย่างเป็นทางการในปัจจุบัน

วัวพื้นเมืองทางภาคใต้




ลักษณะการเลี้ยงวัวชนปัจจุบัน

ฝูงแม่วัวพื้นเมือง >> ปล่อยฝูงให้แทะเล็มตามทุ่งหญ้าข้างทาง หรือกลางนาที่เก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว

ลูกวัวแรกเกิด - อายุ หย่านม 8 เดือน >>อยู่กับแม่ในฝูงปล่อยแทะเล็ม และหย่านมตามธรรมชาติ
วัวรุ่น-อายุ 3 ปี >>ปล่อยกินหญ้าตามธรรมชาติ





วิธีการคัดเลือกวัวรุ่นเพศผู้เอามาทำวัวชน มีหลักการดังนี้
>> จะดูสายพ่อว่ามีประวัติการชนที่ดี รูปร่างสี่เหลี่ยมด้านหน้าหนา กล้ามเนื้อเด่นชัด ขาและกีบแข็งแรง เชิงชน ใจสู้

>>โดยเขาจะไปคัดเลือกวัวเพศผู้จากฝูงวัวพื้นเมือง

ฝูงวัวพื้นเมือง > ลูกเพศเมีย ใช้ทำแม่พันธุ์
> ลูกเพศผู้ อายุ 1 ปีครึ่ง มีการคัดเพื่อเป็นวัวชนโดยดู โครงสร้างร่างกาย เขา ขา ช่วงอก ตัวผู้ที่ไม่ผ่านก็จะขายเป็นวัวเนื้อเพื่อบริโภค
> โคที่ผ่านการคัดเลือก อายุ 3 ปี เริ่มเอามาพัฒนาโครงสร้างและกล้ามเนื้อ เช่น พาเดินออกกำลังกาย ฝึกความทนทาน
ต่อสภาพอากาศที่ร้อน โดยล่ามไว้กลางแจ้ง





วัวชนเพศผู้อายุ 3- 6 ปี ที่เกษตรกรนำมาฝึกชน และสร้างความแข็งแรง



วิธีการฝึกและการเตรียมวัวชน

> ช่วงอายุ 3-6 ปี เป็นช่วงฝึกการชน โดยการเอาไปซ้อมชนกับวัวตัวอื่น
ดูเชิงการชน และ สภาพความความเป็นนักสู้ของวัว โดยยังไม่เข้าสนามชน



> วัวอายุ 6 ปี ขึ้นไปเริ่มเอาเข้าไปชนเพื่อชิงเดิมพัน ( อายุการใช้งานในการชน ได้นานสุดเมื่อวัวอายุ 15 ปี ) น้ำหนักตัว 350-400 กก





ความเชื่อ >>>วัวชนที่อายุมากจะมีกลิ่นสาบ ข่มวัวที่อายุน้อยกว่า
ผมว่ามันน่าจะเกิดจากประสบการณ์ในการชนมากกว่า หรือเรียกว่าเก๋าเกมส์




อาหารที่คนเลี้ยงวัวชนให้วัวกิน

อาหารหยาบ : ให้หญ้าหวายข้อ (หญ้าพื้นเมือง) เกี่ยวมาให้กิน วันละ 2 เวลา (เช้า-เย็น) คุณสมบัติ ไฟเบอร์สูง กินแล้วไม่อ้วน สังเกตจากมูลวัว จะเป็นก้อนไม่เหลว หน้าฝนน้ำท่วมหาหญ้ายากอาจเสริมฟาง
ไม่นิยมให้หญ้าขน และหญ้ารูซี่ เพราะจะทำให้วัวอ้วนมีไขมันสะสม

มีเกษตรกรที่ปลูกหญ้าหวายข้อ เอามาขายครับ ที่สนามชนในราคา
กระสอบละ 100 บาท ก็ประมาณ 5 บาท/กก สร้างอาชีพเสริม

หญ้า หวายข้อมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Hemarthria compressa เป็นพืชอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยแผ่คลุมดิน แต่ชูส่วนปลายขึ้นสูง 90-120 เซนติเมตร



ส่วนยาโด๊ป แต่ละฟาร์มก็มีสูตรลับของตัวเอง ไม่ค่อยมีการเปิดเผย
ส่วน มากจะเน้นสร้างพลังงานให้ชนได้ทน สร้างความกร้าวร้าว ถ้าจะให้เดาก็ไม่พ้นเป็นกลุ่มฮอร์โมนด์บางตัว เช่น ฮอร์โมนด์เพศผู้เช่น เทสโตสเตอร์โรน โกรทฮอร์โมนด์ จะให้อย่างไรผมก็ไม่ทราบวิธีการครับ

การชนวัวก็มีระบบระเบียบที่แน่นอน ดังนี้

ก่อนการชน 1 เดือน จะต้องมีการเปรียบวัว หรือเรียกง่ายๆว่าหาคู่ชนชิงเดิมพัน (ถ้าเป็นมวยก็เรียกว่าเปรียบมวยครับ)

เจ้าของจะพาวัวไปที่สนามเพื่อเอาวัวไปเปรียบหาคู่ชน




เมื่อได้คู่ชน เจ้าของวัวแต่ละฝ่ายจะทำสัญญากันเช่น เดิมพัน ข้อตกลงอื่นๆ จากนั้นเจ้าของจะเอาวัวกลับไปฟิตซ้อม โดยมีคนเลี้ยง 1-2 คน ต่อวัว 1 ตัว โดยพาออกกำลังกาย ซ้อมชน ดูแลใกล้ชิด นอนเฝ้าวัวกันคู่ต่อสู้มาวางยาวัว เรียกว่าวัวนอนในที่กันยุง ส่วนคนเลี้ยงนอนเมา ยุงกัด
อยู่นอกคอกวัว ตามที่ได้ฟังมาบางคนรักวัวยิ่งกว่าลูกเมียก็มี

คอกกันยุงอย่างดีสำหรับเก็บตัววัวก่อนชน




ก่อน ชน 15 วัน วัวที่จะชนต้องเอามาเลี้ยงใกล้ภายในสนาม เพื่อให้วัวได้ปรับตัวกับสนามชน และสภาพแวดล้อมสนาม ก็จะเสียค่าเช่าคอกวัวและที่อยู่คนเลี้ยงประมาณ 2,000-3,000 บาท/เดือน ครับ ค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย ต้องเตรียมดีๆ เพราะเดิมพัน 6-7 หลัก คือแพ้ไม่ได้ครับ




อาหารเสริมสำหรับวัวชนมีหลายสูตรครับ เช่น เสริม ไข่ กล้วย วิตามิน แร่ธาตุ ฮอร์โมนด์ หรือ แล้วแต่ความเชื่อของเจ้าของวัวแต่ละค่าย

ส่วนอาหารข้นที่ทำมาเป็นมาตรฐาน ถูกหลักวิชาการ ที่เน้นเรื่อง วิตามิน แร่ธาตุ สารให้ความเจริญเติบโต ตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็มีทำบริษัทเดียว ตามเอกสารแนะนำครับ




ความแข็งแรง ความแกร่งของวัว เป็นปัจจัยหลักของชัยชนะ วัวไม่มีรับงานล้มมวย เหมือนคน มันจะสู้จนสู้ไม่ได้จึงจะล่าถอย ดังนั้นนักเล่นวัวชนจะลงทุนกันเต็มที่ เพื่อให้วัวของตัวเองชนะ ดังนั้นจึงทุ่มเททุกอย่าง แต่ลืมไปว่าปัจจัยพื้นฐาน คือ อาหารที่ดี ทีเหมาะกับวัวชน ผมเปรียบเหมือนคนที่กินอาหารถูกโภชนาการ ย่อมจะแข็งแรงกว่าคนที่ ดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังอย่างเดียวละเลยการกินอาหารที่ดี ระยะยาวความแกร่งจะลดลงครับ

อาหารวัวชน (fighting bull feeding)

                กีฬาชนวัวมีมานานมากคู่กับภาคใต้ เกิดขึ้นพร้อมกับวัฒธรรมเกษตรของไทย มีแพร่หลายในภาคใต้ ส่วนภาคอื่นๆก็มีเช่นกันแต่ไม่มากนักเช่น ภาคเหนือตอนล่าง เช่น สุโขทัย อ.แม่สอด จ.ตาก อ.สันกำแพง จ.เชียใหม่ และชาวเขาเผ่าม้งในประเทศลาว
แหล่งที่เลี้ยงกันมากคือภาคใต้ เช่น
1.จังหวัดนครศรีธรรมราช > อ.ทุ่งสง ,อ.ชะอวด,อ.จุฬาภรณ์,อ.เชียรใหญ่
อ.หัวไทร ,อ.ร่อนพิบูลย์, อ.เมือง
2.จังหวัดสงขลา> อ.รัตนภูมิ ,อ.ระโนด ,อ.สะทิงพระ,อ.เมือง
3.จังหวัดพัทลุง > อ. เมือง ,อ.ควนขนุน,อ.เขาชัยสน ,อ.ปากพะยอม
อ.ศรีบรรพต,อ.ตะโหมด,อ.ป่าบอน
4.จังหวัดตรัง >อ.เมือง,อ.ห้วยยอด อ.ย่านตาขาว
5.จังหวัดสุราษฎร์ธานี > อ.บ้านนาเดิม,อ.บ้านนาสาร,อ.เวียงสระ,อ.พุนพิน




จากการสอบถามจากผู้เลี้ยงวัวชน จะคัดเลือกวัวเพศผู้มาเป็นวัวชนได้
ประมาณ 10% ของประชากรเพศผู้พื้นเมือง
วัวชนคัดมาจากโคพื้นเมืองภาคใต้ เป็นโคสายพันธุ์อินเดีย มีนิสัยเปรียว ดุร้าย โดยเฉพาะแม่โคที่เลี้ยงลูก มักจะขวิดคนที่เข้าใกล้ ตื่นตกใจง่าย มีขนาดเล็ก โตช้า ชอบรวมฝูง
ตัวผู้หนักประมาณ 350 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 250 กิโลกรัม
ทนทานต่ออากาศร้อน และให้ลูกสม่ำเสมอ เนื้อไขมันแทรกน้อยเหนียวเปอร์เซ็นต์ซากต่ำ (50%) เนื้อเหมาะกับทำอาหารไทย มากกว่าทำอาหารยุโรป

ลักษณะที่สำคัญของโคพื้นเมืองภาคใต้

1รูปร่างเล็ก กะทัดรัด ลำตัวแน่นทึบ
2หลังค่อนข้างตรง
3มีความคล่องตัว ในการใช้แรงงานภาคเกษตร
4หน้ายาวบาง หน้าผากแคบ
5ดวงตาขนาดปานกลาง จมูกแคบ ใบหูเล็กกาง
6ขนสั้นเกรียน มีเขายาวปานกลาง ตัวผู้จะเขายาวกว่าตัวเมีย
7มีเหนียงคอ แคบและเล็กกว่าโคอินเดีย

8มีตะโหนกชัดเจนในตัวผู้ ส่วนเพศเมียมีไม่ชัดเจน
9คอและไหล่หนา มีกล้ามเนื้อชัดเจน
10บั้นท้ายลาดลง กล้ามเนื้อขาหลังน้อย หางเล็ก ยาว
11สีมีหลายสี เช่น สี ดำ น้ำตาล ขาวครีม ด่าง
มักจะพบสีน้ำตาลแกมแดง มากที่สุด




หลักการเลี้ยงวัวชนให้ประสบผลสำเร็จ

1. พันธุ์ดี คือ ร่างการสมบูรณ์แข็งแกร่ง เชิงการชนดี จิตใจนักสู้ เป็นที่รู้กันว่าแต่ละพ่อพันธุ์แต่ละตัวมีจุดเด่นอะไร นักเลี้ยงวัวจเสาะแสวงหาพ่อวัวที่ดี เพื่อนำมาเข้าคอกของตน
2. การจัดการดี เรื่องการดูแลเลี้ยดูจากวัวชนเล็กๆ มาเป็นวัวรุ่น การฝึกซ้อม การดูแลก่อนชน
โรงเรือน ที่ออกกำลังกาย โปรแกรมการฝึกซ้อม


ตามหลักพันธุ์ศาสตร์ Phenotype =Genotype+Enviroment
ลักษณะที่สัตว์แสดงออกมา= พันธุ์กรรม+สภาพแวดล้อม

3.การดูแลสุขภาพ เช่น การให้วัคซิน การถ่ายพยาธิ การกำจัดแมลงรบกวน

4. การให้อาหารที่ดี ถ้าทั้ง 3 ดีหมดมาละเลยข้อสุดท้ายคืออาหาร วัวชนของท่านก็จะไม่เต็มร้อย
ถ้า คู่แข่งเตรียมมาดีทั้งสี่ข้อ วัวเขาก็จะได้เปรียบ ในวงการวัวชนสนใจแต่ยาโด๊ป ยากระตุ้น ยาบำรุงกำลัง ไม่ค่อยให้ความสนใจด้านอาหาร จากความเชื่อผิดๆว่าเอาอาหารมาให้วัวกินวัวจะอ้วน ไม่คึกนั้นจริงบางส่วน เพราะไปเอาอาหารวัวขุนที่พลังงานสูงมันทำทำให้วัวอ้วน เป็นการใช้อาหารผิดประเภท และวัตถุประสงค์

เรามาเริ่มที่อาหารหยาบก่อนครับคือหญ้า

ที่นิยมใช้กันมากคือให้หญ้าหวายข้อ (หญ้าพื้นเมือง) เกี่ยวมาให้กิน วันละ 2 เวลา (เช้า-เย็น) ปริมาณการกินได้ของวัวประมาณ 10 % ของน้ำหนักตัว คุณสมบัติของหญ้าข้อหวาย โปรตีนสูง เยื่อใยสูง กินแล้วไม่อ้วน สังเกตจากมูลวัวจะเป็นก้อน ไม่เหลว หน้าฝนน้ำท่วมหาหญ้ายาก หญ้าขน และหญ้ารูซี่ ก็ใช้แทนได้เช่นกัน

คุณสมบัติของอาหารวัวชนที่ดีคือ

1.ต้องเป็นอาหารที่มีแร่ธาตุและวิตามินไปเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังเป็นมัน ขนสวย
2.กินแล้วไม่สร้างไขมันใต้ผิวหนังซึ่งทำให้วัวหอบ ไม่ทนอากาศร้อน ทำให้วัวไม่ปราดเปรียว
3.เน้น โปรตีน เน้นแร่ธาตุ เน้นวิตามิน ที่ทำให้วัวแข็งแรง มีอาการคึกคะนองเนื่องจากอาหารจะช่วยเรื่องการสร้างฮอร์โมนเพศผู้และกล้าม เนื้อ พลังงานในอาหารต่ำ กินแล้ววัวชนไม่อ้วน
4.อาหารวัวชน ไม่ต้องการอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนัก แต่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงเท่านั้น
5.ใช้ น้อยเพียง 1 กิโลกรัม/ตัวต่อวัน ให้เพื่อเติมเต็มวิตามินและแร่ธาตุที่วัวชนได้รับจากหญ้าธรรมชาติไม่พอ โดยเฉพาะ แคลเชียม ฟอสฟอรัส แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างขนและผิวหนังให้มันเช่น ซัลเฟอร์ ระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนด์ เช่น วิตามิน AD3E Niacin ซิลิเนียม ที่ต้องการน้อยแต่มีความจำเป็น ที่หญ้าจากธรรมชาติให้ไม่เพียงพอ





อาหารวัวชนของบริษัทที่ผลิตอาหารสัตว์ชั้นนำ ที่มีการผลิตสำหรับวัวชนโดยเฉพาะที่มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้เลี้ยงวัวชน โดยให้วันละ 1 กิโลกรัม ไม่ใช่อาหารหลัก ให้เพื่อเสริมวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นโดยไม่ต้องฉีดยาบำรุงทำให้วัวชนกลัว เข็ม เป็นการเสริมให้ได้รับแร่ธาตุและวิตามินทุกๆ วัน ค่อยๆบำรุงในการเก็บตัววัวก่อนชน หรือใช้บำรุงวัวที่บาดเจ็บหลังการชนให้พื้นตัวได้เร็ว





หนึ่งในเคล็ด(ไม่)ลับ ที่เอามาฝากชาววัวชน

>>> เตรียมวัวให้พร้อมที่สุดก่อนลงสนามทุกคนทำได้
>>>ในสนามวัวเท่านั้นทีจะตัดสินแพ้ชนะ คนช่วยอะไรไม่ได้ อยู่ที่ตัววัวครับ





อาหารเสริมวิตามิน แร่ธาตุเข้มข้นสำหรับวัวชน กินวันละ 1 กิโลกรัม จะได้วิตามินแร่ธาตุครบตามความต้องการของวัวชน





สนใจลองสอบถาม ตัวแทนจำหน่ายอาหาร ซีพี หรือ สตาร์ฟีด ร้านใกล้บ้านท่าน โดยเฉพาะทางเขตภาคใต้





วัวชนใต้


วัวใต้ 
                    ฝน โปรยรับงานเดือนสิบแต่เช้าวันต้นเทศกาล ดังคำท่านว่า “คนมีวาสนาทำบุญฝนตก ยาจกทำบุญแดดออก” ด้านคนต่างถิ่นก็เข้าถึงภาวะที่ เอาแน่เอานอนไม่ได้ ของอากาศคาบสมุทรภาคใต้ไปพร้อมกัน
ชนวัว เป็นส่วนหนึ่งของงานบุญ ? คงไม่ใช่เรื่องจะมาสอบถามกันเวลานี้ (มิฉะนั้นจะต้องลากไปถึงว่า “บุญ” คืออะไร) การชนวัวดำรงอยู่ควบคู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราชมาช้านาน ในฐานะกีฬาพื้นบ้าน ในเทศกาลบุญเดือนสิบ ตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ ถือว่าขาดวัวชนไม่ได้
ช่วง เทศกาลบุญเดือนสิบ (ราวปลายเดือนกันยายน) สนามชนวัวหรือบ่อนวัวบ้านยวนแหลของอำเภอเมือง จัดมหกรรมชนวัวต่อเนื่องกันเจ็ดแปดวัน เปิดฉากจากสาย ๆ ว่ากันไปจนใกล้ค่ำจึงแล้วเสร็จ ๑๘-๒๐ คู่ มีให้ดูกันจุใจขนาดนี้ บริเวณรอบ ๆ สนามชนวัวจึงกลายเป็นคอกขนาดใหญ่ให้โคถึกกว่า ๒๐๐ ตัวพักแรมรอลงสนาม พร้อมคนเลี้ยงวัว หุ้นส่วนชีวิตที่กินนอนด้วยกันนานแรมเดือน
ชนวัว ช่วงเทศกาลจัดว่าเป็นนัดพิเศษ วัวเก่งก็มีวัวใหม่ก็มาก เนื่องจากตลอดปี จังหวัดนครศรีธรรมราชมีชนวัวแทบทุกสัปดาห์ หมุนเวียนกันไปในหกสนามของอำเภอต่าง ๆ โดยแต่ละสนามได้รับอนุญาตให้จัดเดือนละครั้ง
หากต้อง การขยายภาพความนิยมใน “กีฬา” ชนิดนี้ ให้กว้างขึ้นจากเมืองคอน จะเห็นว่าพัทลุง ตรัง สงขลาก็มีบ่อนชนวัวของตัวเองจังหวัดละสองสามสนาม รวมเป็น ๒๒ สนามทั่วภาคใต้ในขอบเขตวัฒนธรรมชนวัว บางจังหวัดแม้ไม่มีบ่อนชนวัวเป็นการถาวร แต่ก็นิยมเลี้ยงไว้ขายและชนต่างถิ่น
วัวดีที่สุดของภาคใต้ขณะนี้ นักเลงวัวยอมรับว่าเป็นวัวของบ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่มีสนามชนวัวของตัวเอง
นอกจาก นี้ การที่โคถึกวัยคะนอง ช่วงอายุระหว่าง ๕-๑๕ ปี ไม่อาจจะลงสนามได้ทุกบ่อยเหมือนนักมวยงานวัด ชนครั้งหนึ่งต้องพักรักษาตัวไปสองสามเดือน บางตัวต้องหกเดือน จึงติดคู่ชนครั้งใหม่ อาจเป็นตัวอย่างทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าเรามีวัวชนหมุนเวียน อยู่ในลานทรายอันมหึมามากมายเพียงใด
วัวใต้
หากคุณ นั่งรถผ่านย่านที่มีรถเก๋ง รถปิกอัป มอเตอร์ไซค์จอดเต็มสองฟากถนนเป็นแนวยาว เก้าในสิบที่เจอก็ควรเป็นสังเวียนชนวัว ที่ซึ่งเงินสด ๆ สะพัดวันละเหยียบ ๑๐ ล้านบาท หากเป็นวัวดีของภาคใต้ค่าหัว ๓-๔ แสนบาทโคจรมาเจอกันด้วยแล้วบ่อนแทบปริ ค่าผ่านประตูรอบเดียวอาจเก็บได้ถึง ๓ ล้านบาท เหมือนที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์จำติดตาว่า “ใบห้าร้อยยัดใส่หลัว…ไม่ต้องนับ”
เรามักจะ เห็นวัวชนต่อเมื่อมันถูกจูงเข้าสนาม หรือยามออกเดินถนนกับคนเลี้ยง ตามฐานะความสัมพันธ์ ระหว่างวัวชนกับคนเลี้ยงหรือเจ้าของ ทว่าระหว่างหัวเชือกทั้งสองข้าง คือในมือคนจูงวัวข้างหนึ่งกับจมูกวัวข้างหนึ่ง ยังประกอบด้วยสายสัมพันธ์แวดล้อมอื่น ๆ ที่มองไม่เห็นของ “สังคมชนวัว” ซึ่งควรแก่การสนใจไม่น้อย นับตั้งแต่ครอบครัวคนเลี้ยงวัว, เถ้าแก่ (นักธุรกิจ) เจ้าของวัว, นายสนามชนวัว, ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดชนวัว, นักพนัน, พ่อค้าแม่ค้า, คนให้เช่าที่พักวัว, ผู้อุปถัมภ์สนาม, นักการเมืองท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจหมายรวมถึง ขนบนิยมแฝงเร้นว่าด้วยการเสี่ยงสู้ ความต้องการเอาชนะ ไว้เหลี่ยมไว้เชิง ไม่ยอมเสียเปรียบของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยวัวชนเป็นตัวแทน

วัวชนวัว ::: วิถีคนใต้


วัวชนวัว ::: วิถีคนใต้

::: หากเดาไม่ผิดหลายคนอาจจะร้องยี้ๆๆ หลังได้ชมภาพชุดนี้โดยเฉพาะกลุ่มนักอนุรักษ์ และ ประชาชนทั่วไปที่ไม่นิยมความรุนแรง !!!!

... " รังแกสัตว์ หรือ ทรมานสัตว์ "  คือข้อหาฉกรรจ์ที่เขาตั้งให้ มนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งช่างภาพเองก็ทำใจไว้ล่วงหน้าแล้ว

แต่อีกมุมมอง " วัวชน " เป็นกีฬาพื้นบ้านที่คนทางปักษ์ใต้นิยมกันมานานแสนนาน จนซึมเข้าเส้นก็ว่าได้   

บางคนบอกว่ามันโชคดีที่เกิดมาเป็น วัวชน ดีกว่าเกิดมาเป็นวัวพันธ์พื้นเมืองทั่วไปหรือโคขุน เพราะนั่นคือตายสถานเดียว

วัวชน แม้มีบาดแผลจากการต่อสู้แต่รักษาไม่กี่วันก็หาย
นานาทัศนะหลากหลายมุมมอง  ...


เอาละครับไหนๆก็ไปถ่ายมาแล้ว ก็เลยแอบนำภาพบางส่วนมาให้ได้ชมกันเรียกน้ำย่อยกันล่วงหน้า

.... ซึ่งท่านสามารถดาว์นโหลด ( ฟรีช่วงนี้ โปรโมชั่น ) เพื่อชมภาพชุด " วัวชนวัว " ได้อย่างเต็มอิ่มทาง
App. View Photo Magazine บน Ipad


ซึ่งเป็น ดิจิตอล แมกกาซีน ที่ช่างภาพในเครือเนชั่นภูมิใจเสนอเร็วๆนี้

ช่วงนี้ชมภาพตัวอย่างผ่านบล็อก Oknation ไปพลางๆก่อนครับ





ขอบคุณพี่ดำ เจ้าของสนามกีฬาชนโค บ้านน้ำกระจาย สงขลา
ที่ชวยเอื้อเฟื้อสถานที่
สวัสดีครับ

คนพัทลุงนิยมเลี้ยงวัวชน ภาพนี้ถ่ายหน้าบ้านผมเอง ในซอยหน้าบ้านยังมีคนจูงวัวชนเดินผ่าน


Zoom ++ Click

คนพัทลุงนิยมเลี้ยงวัวชน ภาพนี้ถ่ายหน้าบ้านผมเอง ในซอยหน้าบ้านยังมีคนจูงวัวชนเดินผ่าน
คนพัทลุงยังค่อนข้างที่จะคงเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นถาคใต้ไว้สูงหากเทียบกับคนจังหวัดอื่นๆ
ภาพอย่างนี้อาจจะหายากหากเป็นเมืองใหญ่อย่างภูเก็ตหรือหาดใหญ่



Zoom ++ Click

ตอนเช้าไปเดินเล่นในสวนข้างบ้านเจอคนข้างบ้านจูงวัวชนมาผูกให้กินหญ้า



Zoom ++ Click

หญ้ากำลังเขียวสดทีเดียวเพราะบ้านผมยังไม่พ้นฤดูฝน



Zoom ++ Click

วัวตัวนี้รูปร่างดีล่ำสันเหมาะเป็นวัวชน



Zoom ++ Click

ท่าทางมันดุเอาเรื่อง จนไม่กล้าเข้าใกล้



Zoom ++ Click




Zoom ++ Click

มุมนี้หญ้าโดนแสงกำลังดี



Zoom ++ Click





Zoom ++ Click





Zoom ++ Click

ดูหน้าชัดๆ กดไปหลายรูปมาก



Zoom ++ Click

เข้าไปในสวนเเจอลองกองกำลังสุก



Zoom ++ Click

ช่วงนี้ไม่ใช่ฤดูใหญ่ของผลไม้ ลองกองจึงออกผลไม่เยอะ ถ้าเยอะๆต้องช่วงเดือนสิงหาคม ผลไม้ภาคใต้ปีหนึ่งมี
2 ช่วง



Zoom ++ Click

มังคุดก็มีลูกนิดหน่อย



Zoom ++ Click





Zoom ++ Click

และที่ขาดไม่ได้คือนี่



Zoom ++ Click

ดูกันชัดๆ ไม่บอกก็คงรู้จักอาหารประจำภาค



Zoom ++ Click

อันนี้คนอื่นให้มา เอามาให้ดูเฉยๆ ไม่ใช่ขนุนนะ เขาเรียก"จำปะดะ"
มีเฉพาะภาคใต้และบางจังหวัดเท่านั้น ที่พัทลุงเขานิยมกินกัน



Zoom ++ Click

ดูข้างนอกเหมือนขนุน แต่ลูกเล็กกว่า ผ่าให้ดูเป็นอย่างนี้ เนื้อมันหอมหวาน แต่จะเละกว่าขนุน
แต่กลิ่นนั้นแรงมากไม่แพ้ทุเรียนทีเดียว



Zoom ++ Click

ดอกหน้าวัวที่โคนต้นมังคุด



Zoom ++ Click

อีกดอก



Zoom ++ Click

ต้นมังคุดเป็นอย่างนี้ เป็นไม้ใหญ่อายุยืนเป็นร้อยปีทีเดียว ใบดกหนา ให้ร่มเงาดีมาก



Zoom ++ Click

นกกระยางเกาะบนยอดยางพารา



Zoom ++ Click

บ้านผมยังไม่พ้นฤดูฝนเลย ภาคใต้มีแค่ 2 ฤดูเท่านั้น คือ ฝนกับร้อน
ช่วงฤดูหนาวของภาคอื่นบ้านผมยังเป็นฤดูฝนอยู่เลย เลยได้ภาพเขียวชุ่มชื้นแบบนี้
รูปนี้ถ่ายริมซอยหน้าบ้านเอง ไม่ใช่ในป่า



Zoom ++ Click

เดินเล่นอยู่ในซอยหน้าบ้านเห็นรถคันนี้แล่นมาเลยกดซะหน่อย



Zoom ++ Click

มันเป็นรถสองแถวโดยสารที่มีส่วนประกอบเป็นไม้ ที่ภูเก็ตมีเยอะมาก เขาเรียก "รถโพท้อง"
แต่ที่พัทลุงเดี๋ยวนี้หาดูยากแล้ว สมัยผมเด็กๆ ยังมีเยอะอยู่



Zoom ++ Click

ดูจากรูปเหมือนอยู่ห่างไกลกันดาร แต่ที่จริงแล้วบ้านผมอยู่ อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองแค่ 10 กิโลเมตรเอง
ขับรถแป๊บเดียวก็ถึง ถนนหนทางตรอกซอกซอยราดยางเกือบหมดแล้ว เมื่อก่อนตำบลแถวนี้เป็น อบต.
แต่ตอนนี้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลหมดแล้ว



Zoom ++ Click

พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเทือกเขาบรรทัด ถ่ายจากปากซอยหน้าบ้าน



Zoom ++ Click



Zoom ++ Click

ช่วงปีใหม่ได้กลับไปเยือนบ้านเกิดที่พัทลุงมา เลยเอาภาพมาฝาก
เพราะเห็นว่าไม่ค่อยมีคนรู้จักจังหวัดนี้มากนัก และไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
จนได้ยินคำพูดบ่อยๆว่า...พัทลุงไม่มีอะไร... เลยจะพาไปดูว่าพัทลุงไม่มีอะไรจริงหรือเปล่า
อย่างไรก็ตามภาพอาจไม่ค่อยสวยเพราะใช้กล้องไม่ดีและฝีมือก็ไม่ดี แต่ก็อยากนำเรื่องราวมาเล่า
ภาพแรกนี้เป็นเขาอกทะลุครับ เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง เขาลูกนี้อยู่ใกล้ตัวเมือง มีรูทะลุเป็นช่อง
แต่มองจากมุมนี้จะไม่เห็นรูทะลุ รูปนี้ถ่ายจากแถวศาลกลางจังหวัด






Zoom ++ Click

ระหว่าทางกลับบ้านผ่านทุ่งนา กลยจอดมอไซด์ถ่ายรูปซะหน่อย



Zoom ++ Click

ที่พัทลุงเป็นอู่นาข้าวที่สำคัญของภาคใต้ เพราะเป็นที่ราบลุ่มทะเลสาบ น้ำท่าดีอุดมสมบูรณ์



Zoom ++ Click

ในอดีตพัทลุงมีพื้นที่ทำนาเยอะมาก
แต่ปัจจุบันพื้นที่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราไปมากเนื่องจากให้ผลตอบแทนดีกว่า


Comment : 54
Zoom ++ Click

ที่พัทลุงมีพันธุ์ข้าวท้องถิ่นหลายสายพันธุ์ ผมเองก็รู้จักไม่หมด
เพราะปัจจุบันเรารู้จักกันแต่ข้าวหอมมะลิ แต่คนพัทลุงไม่ค่อยนิยมกินกัน



Zoom ++ Click

ต้นมะพร้าวคู่กลางทุ่งนา



Zoom ++ Click

แต่ตาลเดี่ยว



Zoom ++ Click

ถ้าเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนา แต่ถ้าเป็นที่เนิน(หรือที่คนใต้เรียกว่า "ควน")
อย่างด้านหลังในภาพนั้นเหมาะแก่การทำสวนยางพาราหรือสวนผลไม้



Zoom ++ Click

สะพานข้ามคลองข้างโรงเรียนที่ผมเรียนสมัยประถม


Zoom ++ Click

คลองข้างโรงเรียน เมื่อก่อนมีทรายขาวสวยมาก สมัยเรียนประถมผมมาเล่นน้ำที่นี่กับเพื่อนๆ บ่อย
น้ำในคลองนี้มาจากน้ำตกที่เทือกเขาบรรทัดไหลลงทะเลสาบ