Sunday, August 28, 2011

การเตรียมโคเพื่อเข้าแข่งขัน

.
 
       การชนวัวในประเทศไทยมีมาเกือบ 500 ปี มาแล้ว จากคำบอกเล่าของผู้เลี้ยงโคชนทางภาคใต้สมัยก่อนนั้นการชนโคไม่มีสนามชนโค เป็นกิจลักษณะดังเช่นในปัจจุบัน แต่อาศัยที่ว่างตามหัวไร่ปลายนาหลังฤดูเก็บเกี่ยวเป็นที่ชนโคเพื่อความเพลิด เพลินของชาวไร่ชาวนายามเสร็จจากงานหนักแต่เมื่อการชนโคเป็นที่นิยมมากขึ้น ๆ ผู้เล่นชนโคจึงได้พัฒนา กฎ กติกา ขึ้นมาทีละเล็กละน้อยควบคู่ไปกับรูปแบบของสนามชนโค ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการใช้พื้นที่ว่างเปล่าตามหัวไร่ปลายนาไปเป็นสนามกีฬา ที่มีสังเวียน และส่วนประกอบต่างๆ มากขึ้น

การเตรียมโคเพื่อเข้าแข่งขัน
       โคที่ใช้เป็นโคชนจะเป็นโคผู้ไม่ตอน ถูกคัดเลือกเมื่ออายุได้ 4 ปีโดยดูจากต้องมีคู่เขาที่ใหญ่แข็งแรงดี และส่วนหน้าอกต้องพัฒนาแข็งแรง แต่จะยังไม่ถูกใช้งานชน จนกว่าจะอายุได้ถึง 6 ปีแล้ว หลังจากปลดการใช้งานเป็นโคชนแล้วก็อาจถูกใช้งานเป็นโคงานหรือเป็นพ่อพันธุ์ สำหรับการเลี้ยงดูนั้นแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยแต่ละเจ้าของ แต่มีหลักเกณฑ์ใหญ่ใกล้เคียงกันพอสรุปได้ดังนี้

05.00 น. ผู้เลี้ยงโคตีนนอนพาโคออกเดินและวิ่งรวมระยะทางไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร
09.00 น. โคกลับถึงคอกผู้เลี้ยงจะนวดกล้ามเนื้อ คอและหลังให้โคประมาณ 5-10 นาที แล้วปล่อยให้โคยีนพักนิ่ง ๆ จนกว่าจะเริ่มเคี้ยวเอื้องซึ่งแสดงว่าโคหายเหนื่อยแล้ว จึงอนุญาตให้โคกินน้ำได้จากนั้นก็อาบน้ำถูตัวให้โคเสร็จแล้วนำโคไปผูกผึ่ง แดดอ่อน ๆในลานหญ้าปล่อยให้โคแทะเล็มหญ้าไปบ้าง ในขณะที่โคถูกผึ่งแดดอยู่นั้นผู้เลี้ยงก็จะออกตะเวนเกี่ยวหญ้าใส่กระสอบ เพื่อเตรียมไว้ให้โค
15.00 น. .เอาโคเข้าในร่ม ให้กินหญ้าที่เกี่ยวมาให้ประมาณ 30-50 กิโลกรัม แล้วแต่ขนาดของโค แต่ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของจะต้องการให้โคกินหญ้ามาก ๆ จึงต้องบังคับให้กินโดยการป้อน คือผู้เลี้ยงจะทำหญ้าเป็นก้อนแล้วเปิดปากโคยัดหญ้าเข้าไปจนหญ้าหมด
17.30 น. ให้โคกินน้ำและนำโคเข้าคอกที่มีมุ้งกั้น เป็นเสร็จสิ้นภารกิจประจำวันของผู้เลี้ยงโค

การจับคู่ของโคชน

นำวัวมาผูกรอบสังเวียนเพื่อจับคู่
เปรียบวัว

       การจับคู่ชนหรือประกบคู่ชนของโคชนนั้น เรียกว่า "การเปรียบวัว"
       หลักการในการจับคู่โคชน ก็คือโคชนทั้งคู่ต้องมีอายุ ประสบการณ์ในการชน เพลงชนสถิติการชน ลักษณะเขา ตลอดจนขนาดสัดส่วนร่างกายของตัวโค และกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงกัน เป็นหลักสำคัญในการประกบคู่ชนโดยเจ้าของโคเป็นผู้พิจารณาและตกลงกันเองทั้ง สองฝ่ายแล้วแจ้งให้สนามทราบ เพื่อทำสัญญาการชนต่อไป สำหรับกล้ามเนื้อ (เนื้อเลี้ยง) ของโคชนนั้นจะสังเกตที่หน้าตา ความยาว ลำตัว คอ ความกว้างของหลัง ความลึกของลำตัวและเขา


เมื่อโคชนเข้าสู่สังเวียนสนาม


เครื่องประดับและเสื้อคลุมวัวชน
ขณะเดินเข้าสนาม
       ประมาณ 20-30 วัน หลังจากโคชนได้คู่ชนแล้ว นายสนามจะนัดวันชนซึ่งโคชนที่มาจากต่างถิ่นส่วนใหญ่หลังจากมีคู่ชนแล้ว จะพักค้างที่ค่ายพักของสนามที่จะชนโคโดยมีพี่เลี้ยงคอยดูแลให้หญ้า ให้น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โคชินกับสนาม

การเช็ดล้างโคก่อนชน
              เมื่อคณะโคชนเข้าประจำมุมเรียบร้อยแล้วจากนั้นโฆษกของสนามจะประกาศให้เจ้าของโคแต่ละฝ่าย "เช็คล้าง"ให้ เป็นไปตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ โดยทางสนามจะมีกรรมการกลางที่จัดเตรียมไว้ประจำมุมที่โคไปยีนอยู่เตรียมเช็ค ล้างข้างละ 1 คน เพื่อเตรียมเช็คล้างโค ซึ่งเจ้าของโคแต่ละฝ่ายจะส่งคน 1 คนไปดูการเช็คล้างโคของฝ่ายตรงข้ามกติกาการเช็คล้างตัวโคมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการใช้สารพาของฝ่ายตรงข้ามซึ่งอาจจะอยู่ในรูปยา น้ำมัน หรือ สมุนไพรมีพิษทาไว้ที่ตัวโคหรือที่เขาสำหรับน้ำมันที่ใช้ล้างตัวโคกรรมการ สนามจะเป็นผู้จัดการให้ ถ้าผู้ดูการเช็คล้างโคของฝ่ายตรงข้ามมีความเคลือบแคลงสงสัยว่าบางส่วนของตัว โค โดยเฉพาะส่วนของ เขายังไม่ได้เช็ดล้างก็สามารถบอกกรรมการขอให้เช็คล้างให้เห็นอย่างชัดเจนได้ เมื่อทั้งฝ่ายพอใจกับการเช็คล้างของฝ่ายตรงข้ามแล้ว พี่เลี้ยงจะใช้กล้วยหรือผลตาลโตนดสุก ทาทั่วหน้า จมูก และคอของโค เพื่อลบกลิ่นสาบของคู่ต่อสู้ โดยเชื่อว่าโคเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญต่อขั้นลำดับอาวุโสซึ่งสามารถสัมผัส ได้โดยทางกลิ่นสาบ โคที่หนุ่มกว่าจะเกรงในศักดิ์ศรีของโคที่แก่กว่า ถ้าให้ชนกันโคหนุ่มจะวิ่งหนี

พี่เลี้ยงทากล้วยที่หน้าวัว
เช็ดล้างวัว
ดูการเช็ดวัวของฝ่ายตรงข้าม


เริ่มชน

       กรรมการสนามจะส่งสัญญาณให้เริ่มชนโคโดยเป่านกหวีด 2 ครั้งกรรมการสนามบนปะรำจะให้สัญญาณตามโดยตีกลอง 2 ที พี่เลี้ยงแต่ละฝ่ายส่วนใหญ่ฝ่ายละสองคน ต้องจูงโคเข้าหากัน ณ ตำแหน่งพุ่มกลางสังเวียนซึ่งทางสนามทำเครื่องหมายไว้เพื่อให้เขาโคทั้งสองแตะกัน หรือมีลักษณะอาการที่โคทั้งสองฝ่ายจะเข้าชนกันหรือต่อสู้กัน เรียกว่า "ต่อหัว"
พี่เลี้ยงจูงวัวไปต่อหัวกลางสนาม

ขณะชน
กรณีที่ 1

เกียดวัว
      ถ้าโคตัวใดหันกลับวิ่งหนี กรรมการจะเป่านกหวีดสั้น ๆ 1 ครั้งกรรมการบนปะรำจะตีกลอง 1 ทีเป็นสัญญาณให้พี่เลี้ยงโคฝ่ายวิ่งหนีให้เข้ามาบังคับโคให้เข้ามาชนกับต่อสู้อีกเรียกว่า "เกียดวัว" ขณะเดียวกันกรรมการก็จะจับเวลาหลังตีกลองโดยใช้ขันน้ำเจาะรูวางลงในน้ำที่บรรจุอยู่ในภาชนะแก้วใส ถ้าขันน้ำจม (ประมาณ 5 นาที) โดยพี่เลี้ยงยังไม่สามารถจูงโคให้เข้ามาชนต่อไป กรรมการจะรัวกลองให้สัญญาณว่า โคตัวนั้นเป็นฝ่ายแพ้ และการแข่งขันสำหรับคู่นั้นยุติลง แต่ถ้าเมื่อเกียดวัวแล้วกลับมาชนกันใหม่ (เขาแตะกัน) แล้วตัวที่ชนะเดิมวิ่งหนีกรรมการเป่านกหวีด 1 ครั้ง ตั้งขันน้ำ ขันน้ำจม ตัวที่ชนะเดิมจะเป็นฝ่ายแพ้
สำหรับการ "เกียดวัว" นั้น ทางสนามได้จัดเตรียมไม้ไผ่ยาว ปลายมีตะขอหรือไม้ไผ่ที่เสี้ยมปลายเป็นรูปตัววีให้พี่เลี้ยงวัวใช้บังคับวัว โดยผู้บังคับจะสอดปลายไม้ไผ่ด้านที่มีตะขอหรือเป็นรูปตัววีเข้าไปที่เทียนพราง ซึ่งสวมอยู่ที่จมูกวัวเพื่อจูงวัวไปหาคู่ต่อสู้ให้มาทำการชนกันต่อไป
กรณีที่ 2
      วัวตัวใดวิ่งหนีหลังจากปะเขากับคู่ต่อสู้แล้วและกรรมการจับเวลาแล้ว พี่เลี้ยงสามารถเกียดวัวให้เข้ามาชนกับคู่ต่อสู้ได้อีก โดยที่ขันน้ำยังไม่จม ถือว่าการแข่งขันดำเนินต่อไปได้ กรณีฝ่ายที่วิ่งหนีเมื่อเกียดแล้ววัวกลับเข้ามาชนใหม่เป็นครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายที่ชนะในครั้งที่ 1 วิ่งหนี กรรมการจะเป่านกหวีด 1 ครั้ง พร้อมตั้งขันน้ำให้ฝ่ายวิ่งหนีเกียดวัวเข้ามาชนใหม่ ฝ่ายที่วิ่งหนีวิ่งหนีอีก กรรมการจะเป่านกหวีดยาว พร้อมตีกลองรัวถือว่าฝ่ายวิ่งหนีเป็นฝ่ายแพ้
กรณีที่ 3

การต่อสู้ของโคชน

 
      เมื่อ วัวชนกันแล้วเป็นระยะหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายเกิดเดินแยกกัน พร้อม ๆ กัน โดยไม่ยอมเข้ามาชนกัน กรรมการในสนามจะเป่านกหวีด 2 ครั้ง กรรมการบนประรำจะตีกลอง 2 ที ซึ่งหมายความว่าให้พี่เลี้ยงทั้งสองฝ่ายทำการเกียดวัวให้ชนกันพร้อมจับเวลา ถ้าวัวทั้งสองผ่ายเข้าชนกันขณะที่ขันน้ำยังไม่จม การชนวัวก็จะดำเนินการต่อไป แต่ถ้าขันจมแล้วประมาณ 1-2 นาทีแล้ว วัวยังไม่ชนกันโดยที่ไม่มีที่ท่าว่าตัวใดจะวิ่งหนี กรณีเมื่อกรรมการตีกลองให้ทั้งสองฝ่ายเกียดวัวของตัวเอง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่กล้าเกียดวัวของตัวเองให้เข้าหากันกรรมการจะถามทั้งสอง ฝ่ายว่าจะเกียดหรือไม่เกียด หรือจะให้เสมอ ถ้าทั้งสองฝ่ายตอบว่าให้เสมอ กรรมการจะตั้งขันน้ำจนกว่าจะขันจะจม ถ้าขันจมกรรมการจะตัดสินให้เสมอ หรือกรรมการจะเป่านกหวีดยาวให้เสมอ กันเลยก็ได้ถือเป็นสิทธิ์ขาดของกรรมการโดยเป็นธรรม
การแพ้หรือชนะ การแข่งขันชนวัว ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะนั้น สรุปได้ดังนี้คือ
วัวตัวใดวิ่งหนีไม่ยอมสู้หลังจากวัวเข้าคู่ต่อหัวกันแล้ว โดยที่พี่เลี้ยงไม่สามารถเกียดวัวให้เข้ามาชนใหม่ได้ในเวลาที่กำหนด ถือว่าตัวนั้นเป็นฝ่ายแพ้
วัวตัวใดล้มขณะที่กำลังต่อสู้กันจนไม่สามารถลุกขึ้นมาต่อสู้อีกต่อไปได้ ถือว่าวัวตัวที่ล้มเป็นฝ่ายแพ้
ขณะที่วัวกำลังต่อสู้กันถ้าเจ้าของหรือพี่เลี้ยงวัวฝ่ายใดเห็นว่าวัวของตนเพลี่ยงพล้ำเสียท่า และมีอาการบาดเจ็บสาหัส แต่วัวยังมีใจสู้อยู่ต่อไป พี่เลี้ยงอาจขอยอมแพ้ได้ เพราะดูรูปการณ์แล้ว วัวจะไม่สามารถนำชัยชนะมาได้ โดยพี่เลี้ยงจะส่งสัญญาณบอกกรรมการสนาม จึงถือว่าวัวฝ่ายตรงข้ามเป็นตัวชนะไป

0 comments:

Post a Comment